ของที่ระลึก


“เกวียน” หมายถึง พาหนะที่ชาวเมืองขุขันธ์ในอดีต ใช้เป็นพาหนะสำหรับการเดินทางและบรรทุกสัมภาระ หรือสิ่งของ เช่น บรรทุกผลผลิตทางการเกษตร เพราะสมัยก่อน เมืองขุขันธ์มีมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ใช้สำหรับเป็นพาหนะในการเดินทาง ใช้วัว 2 ตัว เป็นแรงงานลากจูงแทนคน และเครื่องจักรสมัยก่อน ครอบครัวที่มีอันจะกินหรือข้าราชการเท่านั้นที่จะมีเกวียนใช้ในครอบครัว
เกวียนน้อยบ้านใจดี ได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2505 โดยนายอำเภอขุขันธ์ ได้นำเกวียนน้อยมาให้ชาวบ้านใจดีลองฝึกประดิษฐ์ดู ผลปรากฏว่าชาวบ้านใจดีมีความสนใจ สามารถประดิษฐ์ได้สวยงาน ต่อมาจึงได้จัดให้มีการประกวดการประดิษฐ์เกวียนน้อยขึ้น มีผู้เข้าแข่งขันประดิษฐ์เกวียนน้อยมากมาย ผู้ที่ชนะการประกวดในครั้งนั้น คือ คุณพ่อเกิด เตารัตน์ (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว) หลังจากนั้นคุณพ่อเกิด เตารัตน์ ได้ประดิษฐ์เกวียนน้อยเพื่อการจำหน่าย สร้างรายได้แก่ครอบครัวเรื่อยมาจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
ปี พ.ศ. 2523 ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดให้มีการฝึกอบรมการประดิษฐ์เกวียนน้อยให้กับเยาวชนบ้านใจดี และชาวตำบลใกล้เคียง ที่มีความสนใจเข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 30 คน โดยใช้งบประมาณของสำนักราชเลขาธิการ มีคุณพ่อ เกิด เตารัตน์ เป็นวิทยากร ปัจจุบันมีผู้ผ่านการฝึกอบสามารถผลิตเกวียนน้อยได้ และยังมีชีวิตอยู่ คือ นายสมเกียรติ เตารัตน์, นายหวน ไกลถิ่น และ นายหยาด เทพแสง
ปัจจุบันกลุ่มประดิษฐ์เกวียนน้อยบ้านใจดีตั้งอยู่บ้านเลขที่ 324 หมู่ที่ 1 ตำบลใจดี มีนายสมเกียรติ เตารัตน์ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 30 คน สมาชิกสามารถผลิตเกวียนน้อยจำหน่ายให้เกิดรายได้เสริมและสร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านใจดี และอำเภอขุขันธ์เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอขุขันธ์ด้วย

เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยผลิตภัณฑ์ทำจากธรรมชาติ คือไม้ไผ่

  • ไม้ไผ่ใช้สานหลังคาประทุน กรอบประทุน พื้นเกวียน โครงประทุน ซี่ล้อเกวียน เพลา กำแอก
  • ไม้ประดู่ เหลาทำดูก แอก แปรก กาบ และขาง
  • ไม้กระท้อน กลึงทำดุม
  • ไม้อัด ตัดทำกระดานนั่ง วงล้อ ประตูหน้า–หลัง
  • เชือกไนล่อน ใช้มัดหัวจระเข้ แอก มัดกาบติดกับแปรก มัดขนุนให้ติดกับกะทง ทำเชือกเกวียน แย็บกรอบประทุน เย็บพื้นเกวียน มัดโครงประทุน
  • ลวดเส้นเล็ก ผูกประทุนติดกับประตูหน้า–หลัง
  • สีประดู่ทาเนื้อไม้ ทาตัวเกวียน และประทุนก่อนแกะลาย
  • น้ำมันเคลือบงา ทาเคลือบเงาเกวียนทั้งเล่มเมื่อประกอบเสร็จ
  • มีดตอก ใช้เหลาไม้ทุกชนิด
  • เหล็กเจาะ ใช้เจาะรูตัวเกวียน เช่น ดุมล้อ ตูก แอก เป็นต้น
  • เลื่อย ใช้เลื่อยไม้ใหญ่ให้เป็นท่อนเพื่อนำมาเหลา
  • เลื่อนฉลุ ใช้เลื่อยไม้ฉลุ เพื่อทำประตูหน้า–หลัง วงล้อ เป็นต้น
  • ไม้บรรทัด ใช้วัดระยะส่วนประกอบของเกวียนให้ห่างหรือยาวเท่า ๆ กัน
  • ดินสอ ใช้ขีดเส้นก่อนตัด เช่น ขีดวงล้อ
  • เหล็กตะไบ ใช้ตะไบตะปูหัวจระเข้ และตะไบเหล็กเจาะให้แหลม
  • กรรไกร ใช้ตัดกระดาษ ตัดไม้ไผ่สานประทุน ตัดเชือก ตัดลวด
  • พู่กัน ใช้จุ่มสีประดู่ทาตัวเกวียนและประทุน ใช้ทาเคลือบเงา
  • กาว ติดส่วนประกอบของเกวียน เช่น ติดกระดาษนั่งกับตูก ติดกะทง เป็นต้น
  • เทียน ใช้รูดใบเลื่อยฉลุให้ลื่น
  • กระดาษทราย ใช้ขัดส่วนที่เป็นไม้ทั้งหมด
  • ค้อน ใช้ตอกเครื่องกลึง และตอกตะปูที่ติดกับหัวจระเข้
  • เครื่องกลึง ใช้กลึงดุมล้อ
  • กระดาษทอง ใช้บุด้านในของหลังคาประทุน

ในการทำเกวียนน้อย จะแบ่งทำเป็นส่วน ๆ ก่อน แล้วจึงนำมาประกอบเข้าเป็นตัวเกวียนทีหลัง ซึ่งแต่ละส่วนประกอบด้วย
  1. โครงเกวียนน้อย
  2. ล้อ
  3. โครงประทุน
  4. หลังคาประทุน

ไม้ไผ่ที่เหลาทำตอกต้องให้ได้สองสี คือ สีขาวและสีเขียว

นายสมเกียรติ เตารัตน์ เป็นประธาน
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 325 หมู่ที่ 1 บ้านใจดี ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 30 คน

จำหน่ายตามที่ร้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาขุขันธ์ และจำหน่ายตามเทศกาลต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น