ผอบใบตาลหรือกะอูบใบตาลเป็นหัตถกรรมการจักสาน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าร้อยปีมาแล้ว เดิมผอบหรือกะอูบ บรรพบุรุษได้ทำเป็นของใช้ในบ้านและงานประเพณีต่างๆ เช่นใช้เป็นเชียนหมากในพิธีแต่งงานและงานศพ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในอำเภอขุขันธ์จำหน่ายให้กับลูกค้าที่เป็นชนชาวเขมรส่วย ที่อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ซึ่งนิยมใช้ในงานต่างๆตามประเพณีดั้งเดิม
กระเป๋าใบตาลทำไว้ให้ลูกๆใส่สมุดหนังสือไปโรงเรียน เมื่อพ.ศ. 2525 นายพิศาล มูลศาสตร์สาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีษะเกษ ได้มาแนะนำ ออกแบบใหม่ๆเป็นทรงกลม ดิกลำดวนแนบบนฝา เรียกว่า กันตรุมน้อย ให้นางเตียง บุญเชื้อ และสมาชิกกลุ่มอีก 3 คน ทำและได้พัฒนากล่องทิชชูตะกร้า กล่องสี่เหลี่ยมบรรจุภัณฑ์ กระจาดรูปวงรี และเป็นของใช้อย่างอื่นตามความต้องการของตลาดและการนำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย
เป็นผลิตภัณฑ์ทำจากใบตาลสามารถผลิตผอบใบตาลหลากหลายรูปแบบทั้งสีธรรมชาติเป็นสีสันต่างๆตามแต่ความต้องการของผู้บริโภค เป็นผลิตภัณฑ์โบราณเป็นเอกลักษณ์ของชาวเขมรที่สานมีรูปดอกลำดวนตรงฝาผอบ
ผอบใบตาลเดิมเป็นของใช้ของในบ้านเช่นใส่เซียนหมาก มีมาแต่โบราณกาล เมื่อมีคนนิยมใช้มากขึ้นและได้ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำเป็นของที่ระลึกต่างๆ เช่นกระจาด ที่ใส่กระดาษชำระ ของชำร่วย ซึ่งสามารถทำรายได้เสริมให้กับคนในชุมชนสืบเนื่องจากวัตถุดิบหาได้ตามท้องถิ่น ไม่ว่าจะใบตาล เถาวัลย์และแรงงานคือคนในชุมชน
- ใบตาลแห้ง
- เถาวัลย์
- ลวด
- มีดตอก
- ไม้พิมพ์ใบตาล
- สีเคมีย้อม
- ตัดใบตาลมาตากแดด 1 แดด
- นำมากรีดเป็นเส้นขนาดเท่าๆกัน
- เลือกเส้นใบตาลขนาดที่ต้องการแล้วมาสานตามแบบที่ต้องการ
- ย้อมสีใบตาลตามที่ต้องการแล้วมาสานตามแบบที่ต้องการ
การย้อมสีใบตาลตากใบตาลที่ย้อมสีแล้ว
สานตามแบบที่ต้องการ ผอบใบตาล ตากใบตาลที่ย้อมสีแล้ว
- ใช้ใบตาลที่เส้นเรียบง่ายต่อการสานและสวยงาม
- น้ำหนักมือในการสานต้องคงที่สม่ำเสมอ
- การเลือกใบตาล
- สีอ่อน เลือก ใบยอด
- สีเข้ม เลือก ใบแก่
กลุ่มผู้ผลิต จักสานผอบใบตาล
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 169 หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยสำราญ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ประธาน นางอรสา ขุขันธิน
โทรศัพท์ 045-630-688 , 089-624-1461
สมาชิก 22 คน หรือติดต่อที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุขันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 045-630-665
จำหน่ายตามที่ร้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นห้างเทสโก้ โลตัส สาขาขุขันธ์ ในหมู่บ้าน ที่ทำการกลุ่ม และจำหน่ายตามเทศกาลต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น